วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
            1.รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 แบบดังต่อไปนี้คือ
1.1        เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  เช่น  ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดิทัศน์, เครื่องเอ็กซเรย์
1.2        เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ  เช่น  เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็กจานแสงหรือจานเลเซอร์บัตรเอทีเอ็ม
1.3        เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล  ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล  ได้แก่  เทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์
1.4        เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล  เช่น เช่น เครื่องพิมพ์จอภาพพลอตเตอร์ ฯลฯ
1.5        เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร  เช่น  เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
1.6        เทคโนโลยีที่ใช้ถ่ายถอดหรือสื่อสารข้อมูล  ได้แก่  ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์วิทยุกระจายเสียงโทรเลขเทเล็กซ์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา  ดังตัวอย่างเช่น
-ระบบเอทีเอ็ม
-การบริการและทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            คือการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท  ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา  จัดเก็บ  สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆได้แก่  ภาพ  ข้อความ  หรือตัวอักษร  ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว  เป็นยต้น
            การใช้อินเตอร์เน็ต
            งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา  พบว่า
            นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง  เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่เพื่อการเรียนรู้  การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา
            ใช้อินเตอร์เน็ต  ทำอะไรได้บ้าง
            งานวิจัยชี้ว่านักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆและการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด
            นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประกอบการทำรายงาน
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            งานวิจัยพบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านและมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
          
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยในรูปแบบไหนบ้าง?
            งานวิจัยชี้ว่า  นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อยได้แก่  ฐานข้อมูล  อิเล็กทรอนิกส์  การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ   e-Learning  วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video  on Demand)  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
            เป็นการศึกษา  เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต  (Internet  หรือ อินทราเน็ต)  เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง  โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความ  รูปภาพ  เสียง  วีดิโอและมัลติมีเดียอื่นๆ  จะถูกส่งไปยังผู้เรียนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน  สามารถติดต่อปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน  โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่  (Learning  for all:  anyone,  anywhere  and anytime)
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer  Assisted  Instruction)
            CAI  คือ  บทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณาเป็นอย่างดีโดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ  แบบฝึกหัด  การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามรถของตนเอง  เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยอักษร  รูปภาพ  เสียงหรือทั้งภาพและเสียง  ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ  โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้  (Learning  Behavior)
ทฤษฎีการเสริมแรง  (Reinforcement  Thoery)
            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ  (Operant  Conditioning  Theory)   ซึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ  โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า  เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน
3.  วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย  (Video  on Demand  -VOD)
            คือระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนต์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ  ตามสโลแกนที่ว่า
“  To view  what one  wants,  when  one  wants”.  โดยสามารถใช้งานได้จากเครือข่ายสื่อสาร
(Telecommunications  Networks)  ผู้ใช้งานซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย  (Vedio  Client)  สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามความต้องการ  และสามรถควบคุมข้อมูลวีดิโอนั้นๆโดยสามารถย้อนกลับ  (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า  (Forward)  หรือหยุดชั่วคราว  (Pause)  ได้  เปรียบเสมือนการดูวีดิโอที่บ้านนั้นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน  กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันได้
4.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
            คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทาลอินเตอร์เน็ตโดยมีเครื่องมือที่จำเป็นคือ  ฮาร์ดแวร์
            ส่วนการดึงข้อมูล  e-Books  ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่  ลักษณะไฟล์ของ  e-Books  หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง  e-Books  จะสามารถเลือกได้  4 รูปแบบคือ  Hyper  Text  Markup  Language  (HTML),  Portable  Document  Format  (PDF),  Peanut  Markup  Language  (PML)  และ  Extensive  Markup  Language  (XML)

5.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
            เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  มีดังนี้
1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ความสามารถในการจัดเก็บ  รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 สารสนเทศ
ความหมายสารสนเทศ หมายถึง เป็นข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ

สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Informaion หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ

สารสนเทศ มีความหมายตามที่ได้ให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมาลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้หรือนำมาประกอบการพืจารณาได้สดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT)
เป็นเทคโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันมีความเกียวของกับการจัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเทคโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์

1. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ตอพ่วงเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2.หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU)
3.หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
4.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)

2.เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)  หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผ้ใช้ต้องการ

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
2.ซอฟต์ประยุคต์ (Application Software)คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

2.เทคโนโยสี่อสารโทรคมนาคม  หมายถึง เทคโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครื่อค่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-แผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมสารสนเทศเพื่อการศึกษา
-มีการจัดตั้งศุนย์ประสารงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
-ในแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญ ของเทคโลยี สารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
-แผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการศึกษา

แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพและมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมการดำเนินงาน ติดตามและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการตทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกสารสนเทศที่จะใช้ในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลบีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือในการช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษา
1.ให้ความรู้
2.ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์
4.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ

สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจ่าย อย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่นดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่นระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่นระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโยเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา


วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
Information and communication Technology for Teachers
รหัส PC54504  3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม



























วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

assignmenent 1


1. ชื่อหนังสือ
-The Four Elemnts of Success
( กลยุทธ์อ่านใจคนจากพลังธาตุทั้ง 4 )
-How to Have a Happy Toddler 
(สร้างสุขให้ลูกรัก)
-Principles of Insurance 
(หลักประกันภัย)
-Thal Politics and Goveenment
 (การเมืองและการปกครอง)
-Local Politic in Thailand 
(การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย)
-THE Handbook of Internet Usaage 
(เรียนรู้การเล่นอินเตอร์เน็ตตั้วแต่เริ่มต้นด้วยตนเอง

2. Cyber bullying คืออะไร
                 Cyber bullying คือการรังแกระหว่างเด็กด้วยกันผ่านสื่อไซเบอร์ อันได้แก่ อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการรังแกประเภทนี้มีตั้งแต่การนินทาด่าทอ การส่งต่อข้อมูลที่เป็นความลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นได้รับความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงการใส่ร้ายให้อีกฝ่ายเสื่อมเสีย เช่น กล่าวหาว่าเป็นโสเภณีหรือเป็นเกย์ ผ่านการส่งต่อทางอีเมล์ โดยฝ่ายที่เป็นเหยื่อในการกล่าวหา จะไม่สามารถรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ
*งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ
**ความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็กที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำ
***โดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ในวงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต